รู้หรือไม่ คุณอาจมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับค่าสายตาและการใส่แว่นตา
วันนี้เรารวบรวมคำถามยอดฮิต ที่เป็นความเชื่อที่ยังไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่องแว่นๆ มาสรุปให้ฟังกันคะ
ข้อที่ 1 ใส่แว่นแล้วทำให้ค่าสายตาเพิ่ม จริงไหม
ไม่จริงคะ การใส่แว่นเมื่อมีข้อบ่งชี้ คือ เมื่อมองไม่ชัด ต้องหยีตา หรือคือการเพ่งโดยไม่รู้ตัว หรือบางคนอาจมีอาการปวดหัว ปวดกระบอกตา เป็นข้อที่ควรต้องใช้แว่น ในทางกลับกัน หากฝืนไม่ใช้แว่น กลับทำให้ยิ่งมีผลเสีย คือ การเพิ่มขึ้นไวของค่าสายตาด้วย นอกจากนี้อาจทำให้เราเมื่อยล้าดวงตา หรือบางรายเพ่งจนเกิดริ้วรอย ตีนการอบดวงตา แถมบางคนอาจเพื่อนยังหาว่าเดินผ่านไม่ทัก แต่จริงๆแล้วเพราะมองเห็นไม่ชัด
ข้อที่ 2 เวลาดูทีวีใกล้ๆ จะทำให้สายตาสั้น
ไม่จริงคะ การดูทีวีใกล้ ไม่ได้ส่งผลให้ค่าสายตาเพิ่ม เพราะความจริง ส่วนใหญ่ คนที่มีสายตาสั้น เกิดจากกายวิภาคของดวงตา เช่น การมีกระบอกตายาว กระจกตาโก่งกว่า แต่การดูทีวีใกล้นั้น อาจทำให้แสงสว่างเข้าสู่ดวงตามากเกินไป ทำให้เกิดการล้าตามากกว่า
ข้อที่ 3 สายตายาวสามารถป้องกันได้
ขออธิบายพื้นฐาน สายตายาวมี 2 ชนิด คือ สายตายาวแต่กำเนิด (Hyperopia) กับ สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) ซึ่งจะเกิดเมื่อเราอายุ มากกว่า 40 ปี ขึ้นไป ทั้ง 2 ภาวะ ไม่สามารถป้องกันได้คะ สายตายาวแต่กำเนิด เกิดจากการที่กระบอกตาสั้น กระจกตาแบน ส่วนสายตาความตามวัย หรือ สายตาผู้สูงอายุ เป็นความเสื่อมตามวัยอย่างหนึ่ง ซึ่งทุกคนไม่สามารถเลี่ยงได้ เกิดจากกล้ามเนื้อตาเสื่อม เลนส์ตาแข็งตัว ทำให้การพองออกของเลนส์ตาธรรมชาติ ไม่ดีเหมือนสมัยเด็ก ซึ่งจะส่งผลให้ การอ่านหนังสือ หรือ ทำการกิจกรรมระยะใกล้ ลำบากขึ้น
ข้อที่ 4 สายตาสั้นกับสายตายาวหักล้างกันได้
ขออธิบายแบบนี้คะ คนสายตาสั้น เลือกใส่แว่นสายตาที่ทำจาก เลนส์เว้า แทนด้วยเครื่องหมาย ลบ แต่เมื่อมีค่าสายตายาวตามวัย จะต้องใส่เลนส์นูน หรือเลนส์แว่นอ่านหนังสือ แทนด้วยเครื่องหมาย บวก ดังนั้นหลายคนจึงคิดว่า สายตาสั้น ซึ่งเครื่องหมายเป็น ลบ กับ สายตายาว ซึ่งเครื่องหมายเป็น บวก จะหักล้างกัน แต่ถ้าคิดตามหลักการ จะเห็นว่ากลไก การเกิดค่าสายตา สั้น และ ยาวตามวัย เกิดจากคนละกลไกเลย ดังนั้น ตอบว่าไม่สามารถหักล้างกันได้คะ แต่เมื่อเราอายุมากขึ้น คนที่สายตาสั้น จะมีสายตายาวตามวัยเพิ่มมาด้วย จึงมีทั้งสองสายตา ในตาเดียวกัน
ข้อที่ 5 นอนอ่านหนังสือ เขียนหนังสือเอียง บ่งบอกว่ามีค่าสายตาเอียง
คนที่สายตาปกติ กระจกตา จะมีลักษณะคล้ายลูกบอล คือ แนวตั้งและนอน มีรัศมีเท่ากัน แต่คนที่มีสายตาเอียง จะมีกระจกตา คล้ายลูกรักบี้ แปลว่าแนวตั้ง กับ นอน ไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อแสงผ่านกระจกตา จึงไม่ตกที่จุดเดียวกัน ซึ่งที่บอกว่าการนอนอ่านหนังสือ จะทำให้มีค่าสายตาเอียง จึงไม่เป็นความจริงคะ
เมื่อแสงไม่ตกที่เดียวกัน คนที่สายตาเอียง จึงมักจะเห็นภาพเป็นเงาๆ มองอักษรไม่คมชัด แต่ไม่ได้จะมาด้วยการเขียนหนังสือเอียง หรือลากเส้นเอียง เป็นความเชื่อที่ยังไม่ถูกต้อง