พามารู้จักกับค่า UV Index กัน สาระความรู้ ที่คุณอาจมองข้าม !!
UV Index คืออะไร ?
มาตรวัดความเข้มของรังสี UV ที่ปล่อยจากดวงอาทิตย์ มายังพื้นผิวโลก หน่วยเป็น W/m2
(ค่าที่สูงเกิน 3 ควรมีการป้องกัน)
รังสียูวีส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ได้แก่
1. ผิวหนัง เช่น ผิวหนังไหม้ ความเสี่ยงเกิดมะเร็งผิวหนัง
2. ดวงตา ทำให้เกิดโรคต้อกระจก ต้อลม ต้อเนื้อ เป็นต้น
ปัจจัย ส่งผลต่อค่า UV Index ที่สูงขึ้น
– การลดลงของชั้นโอโซน
– ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ส่องตรงกับพื้นโลก บริเวณนั้น สูงสุดเวลา 12:00 น.
– ปริมาณฝุ่นละอองน้อย อากาศสะอาด
– เมฆน้อย
– ความสูงของพื้นที่ เช่น ที่ราบสูง UV สูงกว่า
– ละติจูดต่ำ
– การสะท้อนบนพท้นผิว เช่น หิมะ UV มากกว่า ทะเลทราย
ระดับของความรุนแรงของ UV Index ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก
0-2 : ความเสี่ยงน้อย
ใส่แว่นกันแดด ทาครีมกันแดด SPF 15+
3-5 : ความเสี่ยงระดับกลาง
อยู่ในร่ม ใส่หมวกปีกกว้าง ใส่แว่นกันแดด ทาครีมกันแดด SPF 15+ ทุก 1.5 ชม.
6-7 : ความเสี่ยงสูง
หากไม่ป้องกัน ทำลายผิวหนังและดวงตา ลดการอยู่กลางแจ้งช่วงเวลา 10:00-16:00 น.
8-10 : ความเสี่ยงสูงมาก
หากไม่ป้องกัน ผิวหนังจะไหม้ไว ดวงตาถูกทำลาย อยู่กลางแจ้งให้น้อยที่สุด ช่วงเวลา 10:00-16:00 น.
ใส่หมวกปีกกว้าง ใส่แว่นกันแดด ทาครีมกันแดด SPF 15+ ทุก 1.5 ชม.
11+ : ความเสี่ยงขั้นรุ่นแรง
หากไม่ป้องกัน ทำลายผิวหนังและดวงตาในหน่วยนาที ให้เลี่ยงกลางแจ้งเวลา 10:00-16:00 น.
ใส่หมวกปีกกว้าง ใส่แว่นกันแดด ทาครีมกันแดด SPF 15+ ทุก 1.5 ชม.