เพ่งระยะใกล้ทำงานมากจนเกินไปอย่างต่อเนื่อง สายตาสั้นจริง หรือ สายตาสั้นเทียม!!
อาการสายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia) คืออะไรนะ ?
สายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia) คือ อาการมองไกลไม่ชัด เนื่องจากเพ่งสายตาระยะใกล้เป็นเวลานาน จนกล้ามเนื้อตาใน ciliary body ที่ทำงานในการเพ่งระยะใกล้ทำงานมากจนเกินไปอย่างต่อเนื่อง เกิดอาการเพ่งค้างหรือคล้ายการเกิดตะคริว มักพบในกลุ่มอายุไม่เกิน 30 ปี
ในสภาวะปกติการที่คนเราสามารถมองเห็นได้ชัดทั้งไกลและใกล้ เกิดจากกล้ามเนื้อตาทำงานให้เกิดการเพ่ง (Accommodation ) คือทำให้เลนส์ตาเกิดการป่อง จึงทำให้หักเหแสงไปตกที่จอประสาทตาพอดี เราจึงสามารถมองเห็นชัดที่ใกล้ได้เป็นปกติ
ดันนั้นเมื่อมีการใช้สายตาที่ระยะใกล้เป็นเวลานาน ในยุคของดิจิตอลปัจจุบัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานให้เกิดการเพ่งค้างอยู่ตลอด เมื่อมีการใช้สายตาเป็นระยะเวลานานโดยไม่พักสายตาเลย อาการเพ่งค้างนี้เมื่อเราเปลี่ยนไปมองระยะไกล จะเกิดอาการมองไกลไม่ชัด จึงเข้าใจว่าตนเองมีอาการสายตาสั้น เกิดเป็นอาการที่เรียกว่าสายตาสั้นเทียม หรือบางรายอาจมีอาการปวดตา ปวดกระบอกตา หนักตา ตาล้า ปวดศีรษะ แพ้แสง ภาพชัดบ้างเบลอบ้าง ภาพซ้อน ในเด็กบางคนอาจทำให้ตาเหล่เข้าในได้ เป็นต้น เมื่อคนไข้ที่มีภาวะสายตาสั้นเทียมมาตรวจวัดสายตา อาจทำให้มีการวัดสายตาค่าสายตาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
ส่วนสาเหตุอื่นๆ อาจเกิดจากการ การใช้ยาบางชนิด เช่น กลุ่ม Phenothiazine , Chloroquine เป็นต้น หรือมีโรคหรือการกระทบกระเทือนทางสมอง
ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดสายตาสั้นเทียม สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้
- เมื่อต้องใช้สายตาที่ระยะใกล้เป็นเวลานานๆ ควรพักสายตาโดยการมองไกลเป็นระยะ เพื่อเป็นการคลายการเพ่งนั้นไม่ให้เกิดอาการเพ่งค้าง โดยอาจจะทำได้ง่ายๆ โดยใช้กฎ 20-20-20 คือ ทุกๆ 20 นาทีที่ใช้สายตาระยะใกล้ ให้พักสายตา 20 วินาที โดยมองไกลออกไป 20 ฟุต การทำแบบนี้จะทำให้กล้ามเนื้อตามีการคลายตัวบ้าง ไม่ทำงานตลอดเวลาจนเกิดอาการเพ่งค้าง
- ลดชั่วโมงการใช้งานหน้าจอ ในเด็กๆ ให้ส่งเสริมกิจกรรมกลางแจ้งมากขึ้น
- ใช้งานสายตา ในที่มีแสงสว่างเพียงพอ
- ฝึก Visual training
- แก้ไขค่าสายตาให้ถูกต้อง แนะนำใช้เลนส์กลุ่มผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา (Antifatique Lens) หรือเลนส์ที่มีค่าสายตายาวอยู่ส่วนล่างของเลนส์
หากใครที่กำลังสงสัยว่ามีภาวะสายตาสั้นเทียมอยู่ ทักเข้ามาปรึกษากับทีมงานจักษุแพทย์ของร้าน THE NEXT ได้เลย…